ลูกสำรอง (พุงทลาย) สรรพคุณยืนหนึ่งเรื่องลดน้ำหนัก

สรรพคุณลูกสำรองไม่เพียงแต่ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกไม่น้อย

 

น้ำลูกสำรอง สมุนไพรลูกสำรอง เป็นชื่อที่ได้ยินกันมานาน และเชื่อว่าหลายคนคงได้ลิ้มรสน้ำสำรองกันบ้างแล้ว เพราะมีการอ้างถึงสรรพคุณของลูกสำรองมากมาย ทั้งลดน้ำหนัก ป้องกันเบาหวาน ลดไขมันในเลือด เอาเป็นว่ามารู้จักสรรพคุณลูกสำรองให้เคลียร์ไปเลยดีกว่า

ลูกสำรอง สมุนไพรสรรพคุณดี ประวัติน่าสนใจ

สำรอง เป็นสมุนไพรที่พบได้มากในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรี และในอดีต สำรองก็เคยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี จากการพระราชทานนำไปปลูกเป็นสิริมงคลตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ปีที่ 50 ก่อนที่จังหวัดจันทบุรีจะเปลี่ยนมาใช้ต้นไม้จันทร์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดในภายหลัง

สำรอง จัดเป็นสมุนไพรในวงศ์ Sterculiaceae จีนัส Scaphium ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสำรองคือ Scaphium scaphi-gerum (G.Don) Guib. & Planch. ส่วนชื่อภาษาอังกฤษของสำรองคือ Malva nut หรือ Jelly nut แต่ในบ้านเรา สำรองมีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น พุงทลาย หมากจอง บักจอง ฮวงไต้ไฮ้ เป็นต้น

 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกสำรอง

สำรองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้น อย่างตามป่าดงดิบที่มีความชื้นสูง ลำต้นตรง สูง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบสำรองเป็นรูปทรงไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่แกมใบหอก ขนาดใบกว้าง 10-12 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นดอกแยกเพศ มีกลีบสีเขียวอ่อน ที่กลีบเลี้ยงจะมีขนสีแดงปกคลุม ดอกสำรองจะออกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ลูกสำรองมีลักษณะเป็นผลแห้ง ขนาด 25×15 เซนติเมตร ผิวเหี่ยวย่น สีน้ำตาล หัวเป็นทรงรี ท้ายเป็นทรงมน ลักษณะผิวของผลเป็นผิวขรุขระ ที่ขั้วผลมีแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเหมือนเรือติดมากับผล ส่วนนี้นิยมเรียกว่าสำเภาของผลสำรอง ซึ่งเมื่อนำผลแห้งไปแช่น้ำ เนื้อที่หุ้มเมล็ดจะพองออก มีลักษณะคล้ายวุ้นสีน้ำตาล ที่ร่อนออกมาจากเมล็ดแบบทะลักทลาย เป็นที่มาของชื่อเรียกว่าพุงทลายนั่นเอง

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง

คณะเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีกับผลสำรองแห้งปริมาณ 100 กรัม พบว่าลูกสำรองแห้งให้คุณค่าโภชนาการ ดังนี้

– พลังงาน 394 กิโลแคลอรี

– น้ำ 12 กรัม

– โปรตีน 5.4 กรัม

– ไขมัน 2.4 กรัม

– คาร์โบไฮเดรต 75.3 กรัม

– ใยอาหาร 67.1 กรัม

– เถ้า 4.54 กรัม

– โซเดียม 10.7 มิลลิกรัม

– แคลเซียม 237 มิลลิกรัม

– เหล็ก 1.56 มิลลิกรัม

– ไอโอดีน 9.12 ไมโครกรัม

– วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม

– วิตามินบี 2 1.84 มิลลิกรัม

ลูกสำรอง สรรพคุณไม่เป็นสองรองใคร

สรรพคุณของลูกสำรองตามสูตรของแพทย์แผนไทย นิยมใช้ลูกสำรอง ดังนี้

1. แก้เจ็บคอ-แก้ไข้

ใช้ลูกสำรองราว 10-20 ลูก ต้มกับชะเอมจีนพอหวานจนได้น้ำยาเข้มข้น แล้วจิบน้ำสำรองบ่อย ๆ ช่วยแก้ไข้ แก้เจ็บคอได้ดี

2. แก้ไอ-ขับเสมหะ

 

 

ใช้ลูกสำรอง 3-5 ลูก แช่ลงในน้ำ 1 แก้ว ให้วุ้นลูกสำรองออกมา จากนั้นเติมน้ำตาลกรวดลงไปเพื่อแต่งรสให้หวาน ดื่มทั้งเนื้อวุ้นและน้ำครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร ในกรณีเป็นไข้หวัด มีเสมหะด้วย ให้หาลูกสำรองมาทำน้ำสำรองอุ่น ๆ ดื่มแก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้เจ็บคอ

3. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

น้ำลูกสำรองมีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้ชุ่มคอ สดชื่นขึ้นได้ง่าย ๆ ในวันที่อากาศร้อน รู้สึกร้อนไปถึงข้างในกาย ดื่มน้ำลูกสำรองก็ช่วยได้เยอะ

4. แก้ตาอักเสบ

วุ้นสำรองเป็นยาเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุอ่อน จึงสามารถใช้รักษาตาอักเสบได้ โดยนำผ้าก๊อซชุบน้ำพอชุ่ม แล้วนำไปประคบบนตาที่อักเสบ จากนั้นวางแผ่นเปลือกหุ้มเมล็ดลูกสำรองบนผ้าก๊อซ เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อโดนน้ำจะพองตัวและซึมเข้าสู่ผ้าก๊อซ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บตา ตาอักเสบได้

5. ช่วยระบาย แก้ท้องผูก

 

 

เนื้อจากลูกสำรองเมื่อถูกน้ำแล้วจะกลายเป็นเจล และใยอาหารจากลูกสำรองยังเป็นใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้ จึงช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

6. ลูกสำรองช่วยลดน้ำหนัก

ด้วยคุณสมบัติการพองตัวของวุ้นลูกสำรองที่ช่วยให้อิ่มท้อง อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยระบาย ดังนั้นลูกสำรองจึงจัดเป็นสมุนไพรลดน้ำหนักชนิดหนึ่ง ที่หากต้องการลดน้ำหนักก็สามารถดื่มน้ำลูกสำรองเป็นประจำ

ที่สำคัญไฟเบอร์ในเนื้อลูกสำรองเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ จึงมีผลช่วยลดการดูดซึมไขมันในอาหาร มีสรรพคุณลดระดับไขมันในเลือดได้อีกต่างหาก

7. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

สรรพคุณของไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ได้ เนื่องจากเจลจากลูกสำรองจะช่วยให้อาหารเคลื่อนตัวในลำไส้อย่างช้า ๆ ทำให้รู้สึกอิ่มได้นานและส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่สวิง จึงช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้

8. ลดความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง

ด้วยใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำที่มีอยู่ในเนื้อลูกสำรอง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยดูดซับไขมันในอาหาร มีคุณสมบัติลดระดับไขมันในเลือด ดังนั้นการรับประทานลูกสำรองจึงช่วยลดความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูงไม่มากก็น้อย
สรรพคุณลูกสำรองไม่เพียงแต่ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกไม่น้อย
ลูกสำรอง

น้ำลูกสำรอง สมุนไพรลูกสำรอง เป็นชื่อที่ได้ยินกันมานาน และเชื่อว่าหลายคนคงได้ลิ้มรสน้ำสำรองกันบ้างแล้ว เพราะมีการอ้างถึงสรรพคุณของลูกสำรองมากมาย ทั้งลดน้ำหนัก ป้องกันเบาหวาน ลดไขมันในเลือด เอาเป็นว่ามารู้จักสรรพคุณลูกสำรองให้เคลียร์ไปเลยดีกว่า

ลูกสำรอง สมุนไพรสรรพคุณดี ประวัติน่าสนใจ

สำรอง เป็นสมุนไพรที่พบได้มากในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรี และในอดีต สำรองก็เคยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี จากการพระราชทานนำไปปลูกเป็นสิริมงคลตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ปีที่ 50 ก่อนที่จังหวัดจันทบุรีจะเปลี่ยนมาใช้ต้นไม้จันทร์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดในภายหลัง

สำรอง จัดเป็นสมุนไพรในวงศ์ Sterculiaceae จีนัส Scaphium ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสำรองคือ Scaphium scaphi-gerum (G.Don) Guib. & Planch. ส่วนชื่อภาษาอังกฤษของสำรองคือ Malva nut หรือ Jelly nut แต่ในบ้านเรา สำรองมีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น พุงทลาย หมากจอง บักจอง ฮวงไต้ไฮ้ เป็นต้น

ลูกสำรอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกสำรอง

สำรองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้น อย่างตามป่าดงดิบที่มีความชื้นสูง ลำต้นตรง สูง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบสำรองเป็นรูปทรงไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่แกมใบหอก ขนาดใบกว้าง 10-12 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นดอกแยกเพศ มีกลีบสีเขียวอ่อน ที่กลีบเลี้ยงจะมีขนสีแดงปกคลุม ดอกสำรองจะออกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ลูกสำรองมีลักษณะเป็นผลแห้ง ขนาด 25×15 เซนติเมตร ผิวเหี่ยวย่น สีน้ำตาล หัวเป็นทรงรี ท้ายเป็นทรงมน ลักษณะผิวของผลเป็นผิวขรุขระ ที่ขั้วผลมีแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเหมือนเรือติดมากับผล ส่วนนี้นิยมเรียกว่าสำเภาของผลสำรอง ซึ่งเมื่อนำผลแห้งไปแช่น้ำ เนื้อที่หุ้มเมล็ดจะพองออก มีลักษณะคล้ายวุ้นสีน้ำตาล ที่ร่อนออกมาจากเมล็ดแบบทะลักทลาย เป็นที่มาของชื่อเรียกว่าพุงทลายนั่นเอง

ลูกสำรอง

คุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง

คณะเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีกับผลสำรองแห้งปริมาณ 100 กรัม พบว่าลูกสำรองแห้งให้คุณค่าโภชนาการ ดังนี้

– พลังงาน 394 กิโลแคลอรี

– น้ำ 12 กรัม

– โปรตีน 5.4 กรัม

– ไขมัน 2.4 กรัม

– คาร์โบไฮเดรต 75.3 กรัม

– ใยอาหาร 67.1 กรัม

– เถ้า 4.54 กรัม

– โซเดียม 10.7 มิลลิกรัม

– แคลเซียม 237 มิลลิกรัม

– เหล็ก 1.56 มิลลิกรัม

– ไอโอดีน 9.12 ไมโครกรัม

– วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม

– วิตามินบี 2 1.84 มิลลิกรัม

ลูกสำรอง สรรพคุณไม่เป็นสองรองใคร

สรรพคุณของลูกสำรองตามสูตรของแพทย์แผนไทย นิยมใช้ลูกสำรอง ดังนี้

1. แก้เจ็บคอ-แก้ไข้

ใช้ลูกสำรองราว 10-20 ลูก ต้มกับชะเอมจีนพอหวานจนได้น้ำยาเข้มข้น แล้วจิบน้ำสำรองบ่อย ๆ ช่วยแก้ไข้ แก้เจ็บคอได้ดี

2. แก้ไอ-ขับเสมหะ

ลูกสำรอง

ใช้ลูกสำรอง 3-5 ลูก แช่ลงในน้ำ 1 แก้ว ให้วุ้นลูกสำรองออกมา จากนั้นเติมน้ำตาลกรวดลงไปเพื่อแต่งรสให้หวาน ดื่มทั้งเนื้อวุ้นและน้ำครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร ในกรณีเป็นไข้หวัด มีเสมหะด้วย ให้หาลูกสำรองมาทำน้ำสำรองอุ่น ๆ ดื่มแก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้เจ็บคอ

3. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

น้ำลูกสำรองมีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้ชุ่มคอ สดชื่นขึ้นได้ง่าย ๆ ในวันที่อากาศร้อน รู้สึกร้อนไปถึงข้างในกาย ดื่มน้ำลูกสำรองก็ช่วยได้เยอะ

4. แก้ตาอักเสบ

วุ้นสำรองเป็นยาเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุอ่อน จึงสามารถใช้รักษาตาอักเสบได้ โดยนำผ้าก๊อซชุบน้ำพอชุ่ม แล้วนำไปประคบบนตาที่อักเสบ จากนั้นวางแผ่นเปลือกหุ้มเมล็ดลูกสำรองบนผ้าก๊อซ เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อโดนน้ำจะพองตัวและซึมเข้าสู่ผ้าก๊อซ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บตา ตาอักเสบได้

5. ช่วยระบาย แก้ท้องผูก

ลูกสำรอง

เนื้อจากลูกสำรองเมื่อถูกน้ำแล้วจะกลายเป็นเจล และใยอาหารจากลูกสำรองยังเป็นใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้ จึงช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

6. ลูกสำรองช่วยลดน้ำหนัก

ด้วยคุณสมบัติการพองตัวของวุ้นลูกสำรองที่ช่วยให้อิ่มท้อง อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยระบาย ดังนั้นลูกสำรองจึงจัดเป็นสมุนไพรลดน้ำหนักชนิดหนึ่ง ที่หากต้องการลดน้ำหนักก็สามารถดื่มน้ำลูกสำรองเป็นประจำ

ที่สำคัญไฟเบอร์ในเนื้อลูกสำรองเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ จึงมีผลช่วยลดการดูดซึมไขมันในอาหาร มีสรรพคุณลดระดับไขมันในเลือดได้อีกต่างหาก

ลูกสำรอง

7. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

สรรพคุณของไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ได้ เนื่องจากเจลจากลูกสำรองจะช่วยให้อาหารเคลื่อนตัวในลำไส้อย่างช้า ๆ ทำให้รู้สึกอิ่มได้นานและส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่สวิง จึงช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้

8. ลดความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง

ด้วยใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำที่มีอยู่ในเนื้อลูกสำรอง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยดูดซับไขมันในอาหาร มีคุณสมบัติลดระดับไขมันในเลือด ดังนั้นการรับประทานลูกสำรองจึงช่วยลดความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูงไม่มากก็น้อย

ลูกสำรอง

ข้อควรระวังในการกินลูกสำรอง

ไม่ควรทานวุ้นของลูกสำรองติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะมีผลทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นเหตุให้เจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ได้

น้ำสำรองคนท้องกินได้ไหม

แม้จะไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของน้ำสำรอง แต่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีก็ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลทสูง แคลเซียมสูง เพื่อบำรุงครรภ์ แต่หากถามว่าคนท้องดื่มน้ำสำรองได้ไหม ก็ไม่มีข้อห้ามใด ๆ นะคะ เพียงแต่เลือกกินอาหารให้เหมาะสม และควรกินอาหารให้ร่างกายได้สารอาหารเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

เมนูลูกสำรอง

* น้ำสำรอง

 

 

ส่วนผสมน้ำสำรอง

• ลูกสำรอง (ตัดหัวท้ายออก) 10 ลูก

• น้ำ 1 ลิตร

• น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำสำรอง

1. แช่ลูกสำรองในน้ำสะอาดจนพองตัวออกเป็นเส้นวุ้น เลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้น สะเด็ดน้ำ เตรียมไว้

2. ใส่เนื้อสำรองลงในหม้อต้มกับน้ำจนเดือด ใส่น้ำตาลทรายแดง คนผสมจนน้ำตาลทรายละลาย ยกลงจากเตา

3. ตักใส่แก้ว พร้อมดื่มขณะร้อน ๆ หรือพักทิ้งไว้จนเย็นสนิท เทใส่ขวดเก็บไว้ดื่มแบบเย็น

* วุ้นสำรองลอยแก้ว

ส่วนผสมวุ้นสำรองลอยแก้ว

• ลูกสำรอง 10 ลูก

• น้ำ 1 ลิตร

• น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ

• ผงวุ้นสำหรับทำขนม 2 ช้อนชา

• ฟรุตคอกเทลกระป๋อง

• เชอร์รีแดงเอาก้านออก

• น้ำแข็ง

วิธีทำวุ้นสำรองลอยแก้ว

1. ล้างลูกสำรองให้สะอาด ตัดหัว แช่ทิ้งไว้ในน้ำอุ่นจนพองตัวเป็นวุ้น จากนั้นลอกเปลือกออกจนหมด

2. ต้มเนื้อสำรองกับน้ำจนเดือดพักไว้จนเย็นสนิท

3. ใส่น้ำสำรอง น้ำตาลทรายแดงและผงวุ้นสำหรับทำขนมขึ้นตั้งไฟจนเดือด เทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

4. พักไว้จนวุ้นทรงตัวดี นำเข้าตู้เย็นจนถึงเวลารับประทาน

5. เมื่อจะรับประทานจัดวุ้นสำรองใส่ภาชนะ ใส่ฟรุตค็อกเทลกระป๋องและเชอร์รีแดง เติมน้ำแข็ง พร้อมรับประทาน

อย่างไรก็ดี น้ำสำรองในท้องตลาดอาจมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก ซึ่งหากบริโภคมาก ๆ ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็น ดังนั้นหากอยากได้ประโยชน์จากลูกสำรองอย่างครบถ้วน แนะนำให้ทำลูกสำรองรับประทานเองจะดีที่สุดนะคะ

 

 

 

ติดตามเราได้ที่นี่