อาหารฟังชั้น อาหารป้องกับโรค

ฮิปโปคราตีส บิดาแห่งการแพทย์ของชาวกรีก ได้ให้แนวทางที่ใช้ในการดูแลสุขภาพไว้ว่า “Let food be thy medicine, and thy medicine be thy food” มีความหมายว่า “จงใช้อาหารเป็นยารักษาโรค” ซึ่งได้กลายเป็นปรัชญาในการใช้อาหารบำบัดโรคในยุคต่อๆมา และได้รับความนิยมมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวดูแลสุขภาพ วงการโภชนศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาถึงองค์ประกอบของอาหารและปริมาณของสารออกฤทธิ์ในการใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร มาเป็นการใช้สารอาหารเพื่อช่วยให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าจะมีการบริโภคอาหารบางชนิดเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม
อาหารฟังก์ชัน (Functional Food) เกมส์สล็อต

อาหารฟังก์ชัน คือ อาหารหรือองค์ประกอบของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากที่ได้จากโภชนาการพื้นฐานที่บริโภคกันอยู่ประจำ อาหารฟังก์ชันจึงทำหน้าที่มากกว่าที่บริโภคกันตามปกติในชีวิตประจำวัน มีบทบาทในการลดความเสี่ยงของโรคและช่วยให้มีสุขภาพดี อาหารฟังก์ชันเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติในการผลิตและกำหนดให้เป็นอาหารที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับสุขภาพ (Foods for Specified Health Use: FOSHU)

องค์ประกอบหลักในอาหารที่เราบริโภคกันแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสารอาหาร (Nutrients) และส่วนที่ไม่ใช้สารอาหาร (Non-nutrients) สารอาหารหมายถึงโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ส่วนที่ไม่ใช้สารอาหารหมายถึงสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและมีฤทธิ์ต่อสรีรวิทยา ให้ผลในการผลหรือป้องกันโรค เช่น ผลไม้เบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์ บิลเบอร์รี่หรือบลูเบอร์รี่มีสารโปรแอนโทไซยานิน ชามีสารคาเทซิน พรุ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหารสูงมาก แครอตมีสารแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน มะเขือเทศมีสารไลโคปีน

องค์ประกอบหลักทั้งสองส่วนในอาหารมีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันหรือช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น ดังนั้นอาหารฟังก์ชันจึงให้ประโยชน์เพิ่มเติมจากสารอาหารที่เราบริโภคกัน จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคพอใจที่จะใช้คำว่าอาหารฟังก์ชันแทนคำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเรียกกันในชื่อต่างๆ เช่น โภชนโอสถ อาหารทางการแพทย์ เป็นต้น

สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา (American Dietetic Association ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Academy of Nutrition and Dietetics) ได้พิจารณาให้อาหารฟังก์ชันเป็น “อาหารที่คงไว้ซึ่งส่วนประกอบเดิมตามธรรมชาติ หรืออาหารที่มีการแต่งเติมสารอาหารให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวัน และบริโภคในปริมาณที่เพียงพอต่อสุขภาพ”

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ที่มนุษย์นำเอาความรู้ไปใช้ในด้านเกษตรกรรมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่มีองค์ประกอบของสารที่ร่างกายต้องการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น กอปรกับความสนใจต่ออาหารฟังก์ชันให้เกิดขึ้นมากมายในท้องตลาด จากข้อมูลการวิจัยที่ขัดแย้งกัน จากสรรพคุณอ้าง (Claims) ในสื่อโฆษณา บุคลากรทางการแพทย์จึงตกอยู่ในฐานะที่จะต้องตีความข้อมูลการวิจัยและให้ความรู้ที่แท้จริงกับผู้บริโภค ทั้งเรื่องชนิดและปริมาณของหารฟังก์ชันที่อาจจะให้เป็นประโยชน์เฉพาะทาง และข้อแนะนำการใช้อาหารฟังก์ชันอย่างเหมาะสมสำหรับบริโภคเพื่อป้องกันโรค

ติดตามเราได้ที่นี่