อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นแผลที่เกิดจากไฟไหม้อาจทำให้เกิดบาดแผล ความพิการหรือมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยค่ะ การรักษาที่รวดเร็วก็จะทำให้การเจ็บปวดลดลงได้ เพราะฉนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ
การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
1. เฉพาะชั้นผิวหนัง มีลักษณะแดงเท่านั้นไม่มีตุ่มพอง อาจบวมเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อน
ประคบบริเวณบาดแผล ควรระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นแล้วนำมาวางบนแผล โดยผ้าต้องมีความเย็นอยู่ตลอดเวลา
แช่ลงในน้ำเย็นหรือเปิดให้น้ำไหลผ่าน บริเวณบาดแผลตลอดเวลานานประมาณ 10 นาที จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
ทาด้วยยาที่ใช้สำหรับทาแผลไหม้
ปิดคลุมแผลด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และต้องเป็นผ้าที่ไม่มีขน
ถ้าแผลไหม้บริเวณกว้าง หรืออวัยวะที่สําคัญต้องรีบนําส่งโรงพยาบาล
2. ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เป็นบาดแผลที่อยู่ในระดับรุนแรง แผลจะลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
- ไม่ควรระบายความร้อนออกจากบาดแผล ห้ามใช้น้ำเย็นราดหรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นนำมาวางบนแผล เพราะจะทําให้แผลติดเชื้อมากขึ้นและอาจทำให้ผู้ป่วยช็อกได้
- ถอดเครื่องประดับออกให้หมด กำไล แหวน สร้อยคอ นาฬิกา เพราะบริเวณนั้นอาจจะบวมขึ้นจนถอดลำบาก
- ถอดหรือตัดเสื้อผ้า ที่เกิดแผลไหม้ไฟออกด้วยเพราะจะติดแผล ควรถอดหลังจากที่อุณหภูมิแผลลดลงแล้ว
- ควรสังเกตหากผู้ป่วยชีพจรเต้นเบา เป็นตะคริว ควรให้นอนราบ ยกขาสูง แล้วใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและเพื่อให้ความอบอุ่น
- ถ้ามีตุ่มพอง ห้ามเจาะหรือตัดหนังส่วนที่พองออก เพราะจะทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
– ห้ามใส่ยาใดๆลงบนบาดแผล
– รีบนําส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
- ห้ามใช้น้ำแข็ง น้ำเย็นจัดประคบ วางลงบนบาดแผลไฟไหม้เพราะน้ำแข็งมีเหลี่ยม มีความคม และอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตายได้
- ห้ามใช้สิ่งต่างๆปิดแผล ยกเว้นผ้าสะอาด และไม่ควรใช้ผ้าที่มีขน
- ห้ามดึงชิ้นส่วนต่างๆ ของเสื้อผ้าที่ไหม้ติดหนังออก
- ห้ามระบายความร้อน แผลไหม้ที่ลึกกว่าชั้นผิวหนัง
- ห้ามเจาะหนังที่พอง เพราะจะทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ห้ามใช้ขี้ผึ้ง ครีม ที่ก่อให้เกิดความร้อนทาบริเวณบาดแผลไฟไหม้