เจ็บหน้าอกแบบไหน เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

อาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่าย อาจเป็นการเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งในบางครั้งอาจจะไม่แสดงอาการออกมา โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคหัวใจชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจหาความเสี่ยงและควบคุมอาการ

ความรุนแรงของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบมี 2 ระดับ

  • หัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
  • หัวใจขาดเลือดแบบเรื้อรัง โดยในบางรายอาจจะไม่แสดงอาการ

โดยอาการของผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค เช่น เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง, หัวใจล้มเหลว, หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • ไตวายเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุน้อย
  • ภาวะอ้วนลงพุง
  • อายุที่มากขึ้น (ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน)

ทำอย่างไรถึงจะห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็คความดัน, ระดับนํ้าตาล, ไขมันในเลือด และการทำงานของไต
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการทานไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน, เบเกอรี่, ชีส รวมถึงเลี่ยงการปรุงรสชาติเค็มและหวาน ลดการทานของหวาน เน้นการทานผักผลไม้

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ในส่วนของผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยแพทย์จะทำการตรวจประเมินอาการด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ อาทิ

  • การวิ่งสายพาน (EST)
  • การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (ECHO)
  • การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจหัวใจด้วยสายสวน

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถรักษาด้วยวิธีการใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งจำเป็นต้องรักษาควบคู่กันไป โดยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ ซึ่งยาที่ใช้รักษาได้แก่

  • ยาต้านเกล็ดเลือด
  • ยาลดไขมันในเลือด
  • ยาโรคหัวใจหรือยาที่ใช้เพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลหรือความดันโลหิต

ส่วนการรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่

  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ลดนํ้าหนัก
  • งดการปรุงอาหารรสเค็ม
  • ทานผักผลไม้ให้เพียงพอ
  • เลือกรับประทานไขมันอิ่มตัวและหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์

ดังนั้นหากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายควรรีบมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และดูแลตัวเองด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผักผลไม้ให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

ติดตามเราได้ที่นี่